ไทกระป๋องศรัทธา
เคารพสักการะ ยึดมั่น เจ้าปู่มเหสักข์ไว้เป็นจิตวิญญาณ เชื่อมั่นว่าเจ้าปู่ฯ นั้นท่านมีแต่ให้ ล้วนประสงค์ดี
ส่งเสริมสนับสนุนให้แก่ลูกหลานเท่านั้น
ไม่เคยให้โทษให้ร้ายแก่ลูกหลานตลอดจนผู้คนทั่วไปเลย ข่าวสารเรื่องบารมีและคุณูปการของเจ้าปู่มเหสักข์ นับวันยิ่งกว้างขวางออกไปเรื่อยๆ ปัจจุบันพิธีกรรมบางส่วนก็เปลี่ยนแปลงไปบ้าง
ทั้งนี้ก็เนื่องจากความประสงค์ของผู้บนบานเองส่วนหนึ่ง และมีการเอาแบบอย่างตามๆ กัน
รวมทั้งความเห็นต่างของผู้คนอีกส่วนหนึ่ง
ได้กล่าวมาแล้วว่ามีการสร้างศาลเจ้าปู่ฯ ขนาด 4 × 8 เมตร กลางชุมชนเมืองวาริชภูมิ
เมื่อปี พ.ศ. 2520 ครั้นเวลาผ่านมาถึงปัจจุบัน ศาลเจ้าปู่ฯได้ทรุดโทรมลง อนึ่งเนื่องจากมีการถมดินในบริเวณให้สูงขึ้น ตัวศาลจึงดูต่ำลงมาก ไม่สมกับเป็นสถานที่สถิตของเจ้าปู่ฯ ซึ่งผู้คนเคารพ บูชา
ศรัทธา ยึดมั่นเป็นจิตวิญญาณ
ชุมชนและเทศบาลจึงพร้อมกันจัดสร้างศาลเจ้าปู่ฯหลังใหม่ขึ้น
ในบริเวณเดียวกันกับศาลหลังเดิมด้วยเงินทุน 4,750,000 บาท
เป็นอาคารหินอ่อนแบบจัตุรมุขทรงสูง
สวยงามมาก
โดยสร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อเดือนมีนาคม 2552
เมื่อศาลเจ้าปู่ฯหลังใหม่เสร็จเรียบร้อย
ได้มีการเชิญรูปจำลองเจ้าปู่ฯจากศาลหลังเก่า ขึ้นสถิต
ณ ศาลหลังใหม่ เมื่อวันเสาร์ที่ 14 มีนาคม
พ.ศ. 2552 แรม 4
ค่ำเดือน 4 ปีฉลู
ซึ่งมีผู้คนมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก
การดำเนินการเริ่มตั้งแต่ตอนเช้าการเคลื่อนย้ายต้องรอบคอบ
ดูให้ละเอียดถี่ถ้วนเชื่องช้าแต่แน่นอน
จนกระทั่งเวลา 11.09 น. รูปจำลองเจ้าปู่จึงขึ้นถึงอาคารหลังใหม่ พลันได้เกิดพระอาทิตย์ทรงกลดเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนักเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาผู้คนในบริเวณงานตลอดจนผู้อยู่ในบ้านวาริชภูมิต่างพูดคุยว่าเป็นบารมีของเจ้าปู่มเหสักข์
บันดาลให้เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลดครั้งนี้ เรื่องนี้ได้มีหลายท่านโทรศัพท์ไปถามคนในหมู่บ้านใกล้เคียง ตลอดจนบางหมู่บ้านที่ห่างไกลออกไปว่าเห็นปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลดหรือไม่
คำตอบคือไม่มีผู้เห็นปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลดในครั้งนี้เลย ปรากฏการณ์ครั้งนี้จึงตอกย้ำส่งเสริม เพิ่มความเชื่อมั่น ความศรัทธาต่อเจ้าปู่มเหสักข์เป็นทวีคูณ
พิธีกรรมวิธีการแก้บนยุคปัจจุบันนั้น บางส่วนก็เปลี่ยนแปลงไปบ้าง คือ
การจัดเลี้ยงคารวะเจ้าปู่ฯตามธรรมเนียม
“สองปีฮามสามปีคอบ” ที่เว้นสองปี ปีที่สามจึงเลี้ยงนั้น
ถึงเวลาช่วงนี้เป็นการเลี้ยงคารวะทุกปีไม่เว้นเลย โดยเฉพาะปีคอบยิ่งพิเศษ มีการถวายวัวทั้งทั้งกลมเพิ่มขึ้นเป็น 2-3
ตัวก็มี ส่วนการแก้บนเป็นการส่วนตัวด้วยอาหารเล็กๆ นั้นยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
พิธีการในวันที่ 6 เมษายน วันคารวะเจ้าปู่ฯ ถือว่าเป็นวันคนภูไทคืนสู่เหย้า ซึ่งเป็นวันจักรีเป็นวันหยุดราชการ จึงมีผู้มาร่วมงานมากขึ้น ลูกหลานภูไทต่างถิ่นห่างไกลต่างก็มุ่งกลับบ้านเพื่อกราบพ่อแม่ ญาติมิตร เพื่อนฝูง เพราะหนึ่งปีจะมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ตอนเช้ามีการถวายสำรับอาหารนานาชนิด ที่ปรุงจากเนื้อวัวทั้งกลม กลางวันมีการบูชาดอกไม้ธูปเทียน มาลัย กราบเจ้าปู่ฯ บูชาของขลัง ของที่ระลึก และงานผ้าป่าเจ้าปู่ฯ ท่ามกลางบรรยากาศเสียงดนตรี ร้องรำ หมอลำขับกล่อมทั้งวัน ตอนเย็นมีการร่วมพาแลง ฟ้อนภูไทถวายเจ้าปู่ฯ พิธีบายศรีสู่ขวัญผูกข้อต่อแขนแขกเหรื่อผู้มาร่วมงาน ฟ้อนบายศรีเชิญขวัญ มีดนตรีภูไท ดนตรีร่วมสมัย ร้องรำสนุกสนานร่วมกัน จุดพลุดอกไม้ไฟเฉลิมฉลองงาน
เนื่องจากมีผู้แก้บนต่อเจ้าปู่ฯ ส่วนหนึ่งเห็นว่าการแก้บนที่ทำมาแต่เดิม เป็นการทำบาปกรรม ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จึงได้เกิดการแก้บนหลากหลายวิธี บางท่านก็แก้บนด้วยฟ้อนภูไท ด้วยหมอลำซิ่งและดนตรี ซึ่งส่วนมากจะจัดในช่วงเวลาเช้าถึงเที่ยงวัน บางท่านแก้บนด้วยสำรับอาหาร มีหัวหมู ผลไม้ และขนมหวานก็มี
ภูไทกะป๋องวาริชภูมิ เชื่อมั่น ผูกพัน ศรัทธาทั้งเจ้าปู่มเหสักข์และศาสนาพุทธ ซึ่งได้รับและนับถือพร้อมๆ กัน ในคราวที่อพยพจากเมืองน้ำน้อยอ้อยหนูสู่เมืองหลวงพระบาง เมื่อปี พ.ศ.2334 ดังกล่าวมาแล้ว
เมื่อปี พ.ศ.2521 ได้มีการสร้างรูปจำลองและเหรียญเจ้าปู่มเหสักข์ โดยทางราชการทุกภาคส่วนร่วมกับประชาชน พระคุณเจ้าผู้ปลุกเสกเหรียญและรูปจำลองเจ้าปู่มเหสักข์ ก็คือ พระอาจารย์วัน อุตตโม แห่งวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ความเชื่อมั่น ผูกพัน ศรัทธาต่อเจ้าปู่มเหสักข์และพุทธศาสนา จะยังอยู่ในจิตใจของคนภูไทกะป๋องไปอีกนานเท่านาน
พิธีการในวันที่ 6 เมษายน วันคารวะเจ้าปู่ฯ ถือว่าเป็นวันคนภูไทคืนสู่เหย้า ซึ่งเป็นวันจักรีเป็นวันหยุดราชการ จึงมีผู้มาร่วมงานมากขึ้น ลูกหลานภูไทต่างถิ่นห่างไกลต่างก็มุ่งกลับบ้านเพื่อกราบพ่อแม่ ญาติมิตร เพื่อนฝูง เพราะหนึ่งปีจะมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ตอนเช้ามีการถวายสำรับอาหารนานาชนิด ที่ปรุงจากเนื้อวัวทั้งกลม กลางวันมีการบูชาดอกไม้ธูปเทียน มาลัย กราบเจ้าปู่ฯ บูชาของขลัง ของที่ระลึก และงานผ้าป่าเจ้าปู่ฯ ท่ามกลางบรรยากาศเสียงดนตรี ร้องรำ หมอลำขับกล่อมทั้งวัน ตอนเย็นมีการร่วมพาแลง ฟ้อนภูไทถวายเจ้าปู่ฯ พิธีบายศรีสู่ขวัญผูกข้อต่อแขนแขกเหรื่อผู้มาร่วมงาน ฟ้อนบายศรีเชิญขวัญ มีดนตรีภูไท ดนตรีร่วมสมัย ร้องรำสนุกสนานร่วมกัน จุดพลุดอกไม้ไฟเฉลิมฉลองงาน
เนื่องจากมีผู้แก้บนต่อเจ้าปู่ฯ ส่วนหนึ่งเห็นว่าการแก้บนที่ทำมาแต่เดิม เป็นการทำบาปกรรม ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จึงได้เกิดการแก้บนหลากหลายวิธี บางท่านก็แก้บนด้วยฟ้อนภูไท ด้วยหมอลำซิ่งและดนตรี ซึ่งส่วนมากจะจัดในช่วงเวลาเช้าถึงเที่ยงวัน บางท่านแก้บนด้วยสำรับอาหาร มีหัวหมู ผลไม้ และขนมหวานก็มี
ภูไทกะป๋องวาริชภูมิ เชื่อมั่น ผูกพัน ศรัทธาทั้งเจ้าปู่มเหสักข์และศาสนาพุทธ ซึ่งได้รับและนับถือพร้อมๆ กัน ในคราวที่อพยพจากเมืองน้ำน้อยอ้อยหนูสู่เมืองหลวงพระบาง เมื่อปี พ.ศ.2334 ดังกล่าวมาแล้ว
เมื่อปี พ.ศ.2521 ได้มีการสร้างรูปจำลองและเหรียญเจ้าปู่มเหสักข์ โดยทางราชการทุกภาคส่วนร่วมกับประชาชน พระคุณเจ้าผู้ปลุกเสกเหรียญและรูปจำลองเจ้าปู่มเหสักข์ ก็คือ พระอาจารย์วัน อุตตโม แห่งวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ความเชื่อมั่น ผูกพัน ศรัทธาต่อเจ้าปู่มเหสักข์และพุทธศาสนา จะยังอยู่ในจิตใจของคนภูไทกะป๋องไปอีกนานเท่านาน